เบสท์ พระเครื่อง

บทความ

ชีวประวัติ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง

24-03-2556 23:17:20น.
ชีวประวัติ

หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง

หรือ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม หรือ พระครูวินัยวัชรกิจ

วัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

 

หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หรือ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม หรือ พระครูวินัยวัชรกิจ เป็น เจ้าอาวาส วัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็นพระนักพัฒนา พระนักปฏิบัติ เคร่งครัดพระธรรมวินัย มีบุคลิกลักษณะผิวพรรณผ่องใส อัธยาศัยเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ใครไปหากราบไหว้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ต้อนรับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะด้วยไมตรีจิต สมเป็นสมณพุทธบุตรธรรมทายาท เนื้อนาบุญอย่างแท้จริง

 

ประวัติ วัดตาลกง

วัดตาลกง ตั้งอยู่เลขที่ 53 หมู่ที่ 3 ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สังกัด มหานิกาย มีเนื้อที่ 13 ไร่เศษ สันนิษฐานว่า วัดตาลกง เริ่มแรกเป็น สำนักสงฆ์ ชื่อ “สำนักสงฆ์ ตาลโก่ง ประมาณ พ.ศ. 2390 (150 ปีกว่า) ตามประวัติที่คนเฒ่าคนเล่าสืบๆ กันมา  บริเวณที่ตั้ง สำนักสงฆ์ มีต้นตาลต้นหนึ่งลักษณะออกยอดอยู่ประมาณ 7 ยอด ลำต้นโก่ง เรียกกันว่า ตาลโก่ง ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัด จากชื่อเดิมก็เน่อกลายเป็น ตาลกง ซึ่งเป็นชื่อ วัดตาลกง ในปัจจุบัน


วัดตาลกง มี เจ้าอาวาส ปกครองดูแลสืบทอดกันมาหลายรูปแต่ไม่ปรากฏหลักฐาน พ.ศ.ชัดเจนนัก สำหรับ เจ้าอาวาส ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในอดีต คือ หลวงพ่อตุ้ม มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความสำคัญที่เล่ากันว่า ภายใน อุโบสถ วัดตาลกง หลังเดิม สันนิษฐานสร้างประมาณ พ.ศ. 2415 มีผง พุทธคุณ เสน่ห์ เมตตานิยม สูง บรรจุไว้ เป็นของ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ในสมัย หลวงพ่อตุ้ม เป็น เจ้าอาวาส


เจ้าอาวาส อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อผิว วัดตาลกง ( ผู้เป็นลุงของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ) เป็น พระกรรมวาจาจารย์ ที่เชี่ยวชาญด้าน ไสยศาสตร์ เวทมนต์ คาถาอาคม รุ่นเดียวกับ หลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง ทั้งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับ หลวงปู่นาค วัดหัวหิน ( พระอุปัชฌาย์ ของ หลวงปู่คำ วัดหนองแก ) จนมาถึงยุคสมัยของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หรือ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม ได้เป็น เจ้าอาวาส วัดตาลกง พ.ศ. 2504 ซึ่ง หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้พัฒนาผลงาน ก่อสร้าง เสนาสนะ สงฆ์ ตลอด ถาวรวัตถุ เจริญรุ่งเรือง เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

ชาติภูมิ

หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง นามเดิม อุ้น อินพรหม ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2479 เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 8 คน คือ 1. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง 2.นายอิ่น 3.นายเอื่อน 4.นายพวง 5.นายแดง 6.นางพุด 7.นางเพี้ยน 8.นางพ้วน ของโยมพ่อ บุญ อินพรหม โยมแม่ เล็ก อินพรหม ณ บ้านหนองหินถ่วง ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เริ่มการศึกษาเบื้องต้น หนังสือไทย ขอม ที่ วัดไสค้าน จนกระทั่งจบการศึกษาภาคบังคับ แล้วมาช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพในด้านเกษตรกรรม

 

สู่เงาร่ม กาสาวพัสตร์

เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้ อุปสมบท เป็น พระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดตาลกง ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 โดยมี พระอธิการ ชัน วัดมาบปลาเค้า เป็น พระอุปัชฌาย์ พระอธิการ ผิว วัดตาลกง เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการขาว วัดอินจำปา เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ สมณฉายาว่า “ สุขกาโม 


ครั้นอุปสมบทแล้ว หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้อยู่ จำพรรษา ที่ วัดตาลกง ศึกษา พระธรรมวินัย อยู่ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อผิว วัดตาลกง และศึกษา ข้อวัตรปฏิบัติ เรื่อยมา

 

การศึกษา พุทธาคา

การศึกษา พุทธาคม ของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เริ่มจากการอยู่ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อผิว วัดตาลกง ซึ่งเป็น พระอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ไสยศาสตร์ เวทมนต์ คาถาอาคม รุ่นราวคราวเดียว ( สหธรรมิก ) กับ หลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง ทั้งยังเก่งทางด้าน วิปัสสนากรรมฐาน เมตตา อยู่ยงคงกระพัน ซึ่งใกล้ชิดกับ หลวงปู่นาค วัดหัวหิน ทั้งเคยเดินทางไปขอศึกษาวิชาความรู้จาก หลวงปู่นาค อยู่เป็นประจำ


หลวงพ่อผิว วัดตาลกง หรือ หลวงพ่อผิว ธมฺมสิริ เป็น พระเกจิ ทรง คุณวิเศษ ของเมืองเพชรบุรีในยุคนั้น แต่อุปนิสัยของ หลวงพ่อผิว วัดตาลกง ชอบอยู่อย่าง สันโดษ เก็บตัวเงียบ ไม่ยอมเปิดเผยว่ามีดี นานๆ จะ ลงนะ ที่กระหม่อมให้ผู้ไปหา หลวงพ่อผิว วัดตาลกง สักครั้ง


ชาวบ้านวัยชราอายุ 80 กว่า เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อผิว วัดตาลกง ลงนะ ที่หัวให้ตัวเดียว มีคุณสารพัด อยู่ยงคงกระพัน จนวันตาย คนเก่าๆ แถวท่ายางต่างประจักษ์ในความ คงกระพันชาตรี มาแล้วหลายราย ก่อนนี้มีวัยรุ่นจากประจวบคีรีขันธ์มาติดพันสาวมาบปลาเค้า เข้าไปกราบ นมัสการ หลวงพ่อผิว วัดตาลกง ขอให้  หลวงพ่อผิว วัดตาลกง ลงนะ ที่กระหม่อมให้ ครั้นต่อมาไม่นานเขากลับมาที่มาบปลาเค้าอีกครั้ง ถูกนักเลงท้องถิ่นแทงด้วยมีด ตีหัวด้วยท่อนไม้ แต่ไม่ยักเป็นไร เลยฮึดสู้หนึ่งต่อสาม เล่นเอานักเลงเจ้าถิ่นต้องเปิดหนีกันจ้าละหวั่นไปเลย


หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็นที่โปรดปรานของ หลวงพ่อผิว วัดตาลกง มากๆ ได้รับการถ่ายทอด สรรพวิชา ให้จนหมดสิ้น


ในพรรษาต่อมา หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เดินทางไปกราบ นมัสการ หลวงพ่อทองศุข วัดโหนดหลวง ถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกปฏิบัติ สมถ กรรมฐาน พุทธาคม โดยเรียนฝึกวิชา กสิณ จนชำนาญ ในกสิณ 10 รวมทั้งตำรับตำราการทำ ผงเมตตา ชั้นสูงด้วย


หลวงพ่อทองศุข เห็นความมานะพยายามของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ประจวบกับ หลวงพ่อผิว ก็มีคุ้นเคยกับ หลวงพ่อทองศุข มาก่อนแล้ว ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ถ่ายทอดสรรพวิชาให้อย่างเต็มกำลัง


อันที่จริงศิษย์ของ หลวงพ่อทองศุข มีหลายรูปล้วนแต่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น เช่น หลวงปู่คำ วัดหนองแก หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลวงปู่นิ่ม วัดเขาน้อย หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง หลวงพ่อแล วัดพระทรง เป็นต้น


ก่อนที่จะศึกษาเล่าเรียนวิชา หลวงพ่อทองศุข ได้ดู ฤกษ์ยาม ก่อน แล้วนัดกำหนดวันให้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เดินทางไปทำพิธีขึ้นครู หรือการยกครู มีขันธ์ 5 ดอกไม้ ธูปเทียน บายศรี ทำพิธีขึ้นครู กล่าวได้ว่า หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็นศิษย์ผู้สืบทอดพุทธาคมจาก หลวงพ่อทองศุข โดยตรงอีกรูปหนึ่งอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการกล่าวอ้างครูบาอาจารย์อย่างเลื่อนลอย


การเรียนวิชาอาคมของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ต้องเดินทางจาก วัดตาลกง ไปเรียนที่ วัดโตนดหลวง ครั้งหนึ่งพักอยู่ถึง 15 วัน ไปกลับอย่างนี้เป็นประจำทั้งยังออกปริวาสกรรมร่วมกับ หลวงพ่อทองศุข ขึ้นเขาไปบำเพ็ญเพียรในป่าช้าบ่อยครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งได้พบกับ หลวงพ่อจัน วัดมฤคทายวัน ซึ่งเป็นญาติกับ หลวงพ่อทองศุข หลวงพ่อจัน เก่งวิชาสะกดชาตรี คือวิชาสะกดให้สัตว์ร้ายอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เรียนมาจากพระภิกษุธุดงค์ชาวเขมร


หลวงพ่อจัน ได้ถ่ายทอดวิชาสะกดชาตรีให้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เช่นกัน สำหรับวิชาที่โดดเด่นมาของ หลวงพ่อทองศุข ยากที่ศิษย์ผู้ใดจะได้รับการถ่ายทอด  คือวิชาทำ ผงพระจันทร์ครึ่งซีก

 

วิชาทำ ผงพระจันทร์ครึ่งซีก เป็นอย่างไร?

ผงพระจันทร์ครึ่งซีก เป็นผงเมตตามหานิยม มีพุทธอมตะล้ำลึกแต่ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ยังไม่เคยทำเอาวิชามาทำผงเลย เพราะสัจจะกฎสำคัญมากนอกจากนั้นยังได้รับการถ่ายทอดการทำผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงหน้าพระภักษ์ อันเป็นตำรับสุดยอดของพระผงวัดนก จังหวัดอ่างทอง สำหรับตำราผงพระภักษ์ รู้ว่าปัจจุบันได้สูญหายไปจากวงการไสยศาสตร์นานแล้ว หากมีอยู่หรือเป็นมรดกแก่ผู้ใดบ้างก็คงน้อยเต็มทีที่จะรู้ได้


อีกวิชาหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงพ่อทองศุข คือ การสักยันต์กระพันชาตรี หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เคยสักยันต์ให้ลูกศิษย์ไปหลายคน ล้วนแล้วแต่อยู่ยงคงกระพันชาตรี ภายหลังลูกศิษย์ของท่าน(บางคน) มีนิสัยเกเรสร้างความเดือดร้อนใจให้ผู้อื่น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง มาพิจารณาดูแล้ว เห็นเป็นการส่งเสริมให้คนประกอบมิจฉาชีพผิดคดีโลก คดีธรรม ตั้งแต่นั้น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เลิกสักยันต์โดยเด็ดขาด ส่วนใครที่อยากได้รับประสิทธิ์ประสาทอักขระเลขยันต์จาก หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ท่านก็เมตตาทำให้เพียง เป่ากระหม่อนหรือเจิมหน้าผากด้วยผงพุทธคุณเพื่อความเป็นสิริมงคล


สำหรับวิชา นะ ปัดตลอด นั้น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้รับการถ่ายทอดเช่นเดียวกัน วิชานี้จะสังเกตได้ถึงวัตถุมงคลของสำนัก วัดโตนดหลวง มียันต์ นะ ปัดตล และ นะ ปถมัง ปรากฏอย่างชัดเจน รวมทั้งวัตถุมงคลศิษย์สาย หลวงพ่อทองศุข ทุกรูป


หลังจากนั้น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้ไปกราบนมัสการ พระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เพื่อขอศึกษาวิชา ไสยศาสตร์ ด้าน อยู่ยง คงกระพัน เสกลิงลม ขับคุณไสย วิชาทำตะกรุด ครูบาอาจารย์ของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง มิใช่จะมีแต่ บรรพชิต เท่านั้น แม้คฤหัสถ์ผู้เชี่ยวชาญ วิชาอาคม หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็ยังขอเล่าเรียนเช่นกัน อย่างเช่น อาจารย์โม หมอสัก ชาวเพชรบุรีมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนั้น


หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้ไปขอเรียนวิชาจาก อาจารย์โม แม้ หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม (มรณภาพแล้ว) ก็เคยไปเรียนวิชา การสักยันต์ มาเหมือนกัน จากนั้น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ไปเรียนวิชา ทำสีผึ้ง เมตามหานิยม วิชา ลงเลขยันต์ ลงสมุนไพร ตำราสมุนไพร จาก หมอฉ่ำ หมอไสยศาสตร์ ชาวท่ายาง อันที่จริงโยม อินพรหม บิดาของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็เชี่ยวชาญเป็น หมอไสยศาสตร์ มีความรู้เรื่อง ยาโบราณ ทั้ง ตำรายาโบราณ ที่ตกทอดมาแต่ยุคก่อนจำนวนมาก โดยเฉพาะตำรา ทำผงยา เพชรบุรี ซึ่ง หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้รับ สืบทอด มาด้วยเช่นกัน


ว่ากันว่า ผงยาเพชรมณี หรือ เพชรจินดา เห็น ตำรายาหัวใจ ยาลม ยาอายุวัฒนะ ที่ดีมาก มีคุณสมบัติพิเศษไม่แตกต่างกับ ผงยาจินดามณี ของ หลวงปู่บุญ มากนักหรืออาจเป็น ตำราสูตรเดียวกันมาแต่โบราณก็เป็นได้

 

ปฏิปทาศีลวัตร   

หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็นพระที่มีอัธยาศัยไมตรีเปี่ยมด้วย เมตตา ถือ สัจบารมี เป็นที่ตั้ง ปฏิปทา ศีลวัตร งดงามบริสุทธิ์ เสมือนทองทั้งแท่ง หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ใฝ่ใจในเรื่องที่เป็น วัฏสงสาร การเกิด แก่ เจ็บ ตาย บุญกรรม และ สิ่งลี้ลับ ธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่อง เวทมนต์ คาถาอาคม อักขระเลขยันต์ เป็นพิเศษ ซึ่งมีอุปนิสัยใจคอชอบมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงเป็นแรงจูงใจให้ใฝ่รู้ศึกษาเล่าเรียน เรียนรู้แล้วปฏิบัติให้เข้าถึง รู้แจ้งเห็นจริง ผู้ใกล้ชิด หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ต่างรู้กันดีว่า หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ไม่ใช่พระธรรมดา หรือเป็นพระธรรมดาที่ยิ่งกว่าธรรมดา มี ญาณสมาบัติ สูง มี สมาธิจิต แก่กล้า หยั่งรู้อนาคต แม้กรวดหินแร่ธาตุต่างๆ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หยิบผ่านมือแล้วมอบให้แก่ใครก็มี อานุภาพ พุทธคุณ อย่างน่าอัศจรรย์


พระนักพัฒนา

เมื่อพูดถึงงานด้านการพัฒนา หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้อยู่ช่วยเหลือ หลวงพ่อผิ (ผู้เป็นหลวงลุง) สร้าง วัดตาลกง มาตั้งแต่แรกๆ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


ก่อนนี้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้เดินทางเข้าป่าละอูไปช่วย หลวงพ่อผิว ตัดไม้ ไปกลางเดือนอ้ายกลับถึงวัดกลางเดือนห้า ใช้เวลาไปกลับครั้งละ 4 เดือน เป็นอย่างนี้เป็นอย่างนี้ประจำถึง 5 ปี ไปกับหมู่สงฆ์ไปปลูกโรงอาศัยในป่าไม้ที่ตัด ใช้เกวียนลากมาแสนจะลำบาก


หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ออก ธุดงควัตร ไปทั่วทุกภูมิภาค ที่ๆ อยู่ในความทรงจำของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง มากที่สุดก็คือ ป่าตะนาวศรี ป่าละอู และป่าปราณบุรี เดิน ธุดงค์ จนไปพบกับผู้มี จิตศรัทธา เลื่อมใส ได้ถวายที่ดินให้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง สร้าง วัด และโรงเรียนจำนวนเนื้อที่ถึง 1,000 กว่าไร่ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ถาม โยม ผู้ถวาย ที่ดินว่า เมื่อ โยม ถวาย ที่ให้ อาตมา แล้ว จะให้มีอะไรบนที่ดินผืนนี้บ้าง โยม ผู้นั้นบอกว่าต้องการมี วัด โรงเรียนและสถานีอนามัย เมื่อรับปากกว่าจะดำเนินการให้ โยม นั้นตามความประสงค์ ต่อมา หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็เริ่มพัฒนาดำเนินการ จัดสร้าง สำนักสงฆ์ ท่าไม้ลาย ขึ้น ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.เขาเจ้า อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยจัดส่ง พระอาจารย์รุ่ง  ปิยธโร ซึ่งเป็นศิษย์ของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ไปควบคุมดูแล ปฏิสังขรณ์ สำนักสงฆ์ ได้รับ ผ้าป่า กฐิน พอเลี้ยงตัวเองได้ ต่อมาได้สร้างโรงเรียนขึ้น จนบัดนี้ก็มีเด็กนักเรียนประมาณ 200 คน พร้อมกับสถานีอนามัยอยู่บนพื้นที่แห่งนี้สมเจตนารมณ์ของผู้ ถวาย ทุกประการแล้ว


หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง นอกจากจะเป็น พระ นักปฏิบัติ แล้วก็เป็น พระ นักพัฒนา ผู้นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ สำนักสงฆ์ ท่าไม้ลาย จากที่ว่างเปล่าให้กลายเป็นที่เจริญรุ่งเรือง ด้วยการพัฒนาสถานที่ พัฒนาบุคคลไปพร้อมๆ กัน และแม้ก่อนที่ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จะมรณะภาพ ก็ยังไปมา สำนักสงฆ์ อย่างสม่ำเสมอ ได้นำเอาผ้าห่มเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกให้เด็กนักเรียนอยู่เป็นประจำ จากประวัติ และ ปฏิปทา ศีลวัตร ของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง นับว่าเป็น พระคณาจารย์ ที่ดีพร้อมจริงๆ


อุโบสถ หลังเก่าของ วัดตาลกง มีอายุถึง 160 กว่าปี มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม จึงได้ดำเนินการสร้าง อุโบสถ หลังใหม่ขึ้น ภายใน อุโบสถ หลังเก่านี้ อดีต เจ้าอาวาส วัดตาลกง ได้นิมนต์ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ มาทำผงอิทธิเจ บรรจุได้ 1 โอ่ง ประมาณ พ.ศ. 2447 และ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้นำมาเก็บรักษาไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้นำ ผง พุทธคุณ เก่ามาผสมกับผงที่ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้ทำขึ้น แล้วบดผสมข้าวปาก บาตร เละข้าวก้น บาตร กดพิมพ์ทำเป็น พระผง สมเด็จคะแนน ขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อเอา พระผง สมเด็จคะแนน ที่สร้างขึ้นส่วนหนึ่งไปบรรจุใน อุโบสถ หลังใหม่ และส่วนหนึ่งแจกกับ พุทธศาสนิกชน และศิษย์เพื่อเป็น สิริมงคล พระสมเด็จคะแนน นี้ สร้างขึ้นจำนวนหลายหมื่น องค์ โดยได้ดำเนินการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 ติดต่อกันจนถึงปี พ.ศ. 2497 รวม 3 ปี ในระหว่างนั้น หลวงพ่อผิว เป็น เจ้าอาวาส วัดตาลกง อยู่ ซึ่งอยู่ในวัยชราภาพแล้ว ได้ดำริจะสร้าง อุโบสถ หลังใหม่ขึ้น พร้อมทั้งงานด้านพัฒนา เสนาสนะสงฆ์ ที่ชำรุดทรุดโทรม โดยมอบให้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบ ในด้านการพัฒนาก่อสร้าง ดูแล ติดตาม สิ่งก่อสร้าง ซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ภายใน วัด โดยตลอด แล้ว หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้ปรึกษากับ หลวงพ่อผิว ถึงเรื่องการสร้าง สมเด็จเหม็น เพื่อนำปัจจัยมาสร้าง อุโบสถ หลังใหม่ แล้วได้นำมารวมกันทำการ อธิษฐานจิต ปลุกเสก เป็นเวลา 8 ปีเต็ม หลังจากนั้นก็ได้จัดส่วนต่างๆ ไว้ เช่น ไว้บนเพดาน ศาลา ใต้ พระบูชา บน ศาลา ส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ใน อุโบสถ หลังใหม่


พระสมเด็จคะแนน นี้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้เริ่มนำออกมาแจกให้ พุทธศาสนิกชน ในปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็หยุด จะมีบ้างก็ให้ประปราย เช่น คนที่มาจากต่างจังหวัด และประมาณ พ.ศ. 2530 หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็เก็บเงียบไม่เคยแจกเลย และมาแจกอีกครั้งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2539 พระสมเด็จคะแนน ตามที่ชาวบ้าน ตาลกง เรียกมาแต่แรกเป็น พระผง ที่มี พุทธคุณ ด้าน เมตตา มหานิยม และ เสน่ย์สูงมาก


กิตติคุณบารมีธรรมและผลงาน

หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็น พระเกจิ อาจารย์ อาวุโส รูปหนึ่งของเมืองไทยแม้จะเพิ่งเปิดเผย ชีวประวัติ เพียงไม่กี่ปีก็ตาม สำหรับ สาธุชน ในท้องถิ่น ต่างรู้จัก กิตติคุณ ของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง มานานนับกว่า 30 ปีแล้ว


หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็นแบบอย่างของ พระภิกษุ สงฆ์ ที่เคร่งครัด ธรรมวินัย มี ศีลบริสุทธิ์ ประพฤติ ปฏิบัติธรรม ตามแนวทางใน พระพุทธศาสนา อย่างแท้จริง เป็นพระที่ไม่สะสม ไม่ปรุงแต่ง ไม่เคยยึดติดลุ่มหลงใน ยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ยึดติดใน ลาภสักการะ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง มีแต่สงเคราะห์ช่วยเหลือแผ่ เมตตาบารมี


ผลงานการสร้าง เสนาสนะ สงฆ์ ตลอดทั้ง ถาวรวัตถุ ต่างๆ ปรากฎเป็นรูปธรรมมากมาย เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิสงฆ์ ฌาปนสถาน สำนักสงฆ์ โรงเรียน ถนนหนทาง กำแพงวัด ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนสำเร็จด้วย บุญฤทธิ์ ของ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ทั้งสิ้น เคยมี พระเถระ ผู้ใหญ่ มาขอร้องให้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง รับตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์ ตำแหน่ง เจ้าคณะตำบล หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ปฏิเสธทั้งหมด


ลำดับประวัติ ตำแหน่งหน้าที่ และ สมณศักดิ์ ดังนี้

พ.ศ. 2500  ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ. 2504  ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอธิการ อุ้น สุขกาโม เจ้าอาวาส วัดตาลกง

พ.ศ. 2508  ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูฐานานุกรม ที่ พระครูสังฆรักษ์ อุ้น สุขกาโม                        

พ.ศ. 2522  ได้รับ พระราชทาน สมณศักดิ์ เป็น พระครู สัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูวินัยวัชรกิจ

พ.ศ. 2531  ได้รับ พระราชทาน เลื่อน สมณศักดิ์ เป็น พระครู สัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระราชทินนาม เดิม


เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม คือการพูดตรงไปตรงมา เป็นวาจาเสมือนเนื้อของหัวใจ คือ ปากกับใจ ตรงกัน ไม่ปิดบังอำพราง ใครอยากรู้อะไรไปถาม หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ท่านก็ตอบตรงๆ ถ้ารู้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็จะบอกจะอธิบาย ถ้าไม่รู้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ก็จะบอกว่าไม่รู้ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็น พระ เกจิอาจารย์ ที่ไม่มีความโลภ โกรธ หลง แต่ประการใด ไม่เคยเห็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง โกธรใคร ดุด่าว่ากล่าวหรือตำหนิติเตียนผู้ใด หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็น พระ อริยสงฆ์ สำรวมใน ศีลาจารวัตร และมี เมตตาธรรม สนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน โดยจัดมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน 9 โรงเรียน ที่เรียนดีแต่ยากจน เป็นประจำทุกๆ ปี


หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็น พระ สุปฏิปันโน ผู้บริสุทธิ์ด้วย ไตรสิกขา เป็น พระ เกจิอาจารย์ จอมขมังเวท

ระดับแนวหน้า ยุคปัจจุบันของเมืองไทย แม้จะเพิ่งเปิดตัวเพียงไม่กี่ปี เป็นที่รู้จัก ศรัทธา เลื่อมใส ของ ญาติโยม สาธุชนอย่างกว้างขวาง ใครไปหา หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ท่าน เมตตา ต่อทุกคน จะ กราบ ไหว้ ก็ กราบ ด้วยความสนิทใจ สมเป็น สมณพุทธ บุตรธรรม ทายาท อย่างแท้จริง

 

เกียรติคุณของ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็นที่ยอมรับกันอย่างแท้จริง ดังนั้น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชนในแวดวง พระเครื่อง จัดลำดับ พระเกจิอาจารย์ ยอดนิยม เมืองไทยให้เป็นหนึ่งในสิบ พระเกจิ อาจารย์ ในยุคปัจจุบัน